วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

เรื่องเล่าจากการเดินทาง

เรื่องเล่าการเดินทาง


เขื่อนสิริกิติ์

เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก่อสร้างขึ้น ตามโครงการพัฒนา ลุ่มน้ำน่าน เดิมชื่อ "เขื่อนผาซ่อม" ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขนานนามว่า "เขื่อนสิริกิติ์" เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2511 ก่อสร้างขึ้น ปิดกั้นแม่น้ำน่าน ณ บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 58 กิโลเมตร

แม่น้ำน่าน

นับเป็นลำน้ำสาขาสำคัญสายหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา มีต้นกำเนิดจากดอยภูแว ในเทือกเขา หลวงพระบาง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนกับประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตท้องที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน ลำน้ำน่านตอนต้นไหลไปทางทิศเหนือ คดเคี้ยวไปทางทิศตะวันตก แล้วไหลผ่านอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ในช่วงนี้จะมีที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ ติดต่อกันจนถึง อำเภอสา จังหวัดน่าน แต่ก็เป็นที่ราบแคบ ๆ จากนั้น แม่น้ำน่านจะไหลผ่านหุบเขา ในเขตพื้นที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เข้าเขตอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วไหล ไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัด อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำยม ที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลแควใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาต่อไปโดยมีความยาวตลอดลำน้ำถึง 615 กิโลเมตร ซึ่งนับว่ายาวที่สุด ในบรรดาแควต้นน้ำเจ้าพระยาด้วยกัน และมีพื้นที่ลุ่มน้ำถึง 33,130 ตารางกิโลเมตรที่ราบสองฝั่ง แม่น้ำน่าน ตั้งแต่จังหวัดอุตรดิตถ์ลงมาจำนวน 1,800,000 ไร่ ในเขตชลประทานพิษณุโลก นับว่าเป็นทุ่งราบที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศ และเหมาะแก่การเกษตรกรรมอย่างยิ่ง ซึ่งแต่ก่อน มักถูกน้ำท่วม เป็นประจำเพราะไม่มีระบบควบคุมน้ำ รัฐบาลจึงได้มีการวางแผนพัฒนา ลุ่มน้ำน่านขึ้นมา 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ในอ่างสำหรับประโยชน์ ทางด้านการชลประทาน และการผลิตกระแสไฟฟ้า

ระยะที่ 2 ก่อสร้างเขื่อนนเรศวรขึ้นที่บ้านหาดใหญ่ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เป็นเขื่อนทดน้ำ พร้อมทั้งก่อสร้างระบบส่งน้ำสำหรับพื้นที่สองฝั่งในอำเภอพรหมพิราม อำเภอเมือง อำเภอบางระกำ และ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก กับอำเภอสามง่าม อำเภอเมือง และอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร รวมพื้นที่ประมาณ 678,000 ไร่ โครงการระยะที่ 2 นี้ ได้เริ่มงานก่อสร้างเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ.2512 แล้วเสร็จปี พ.ศ.2527

ระยะที่ 3 ก่อสร้างเขื่อนอุตรดิตถ์ที่บ้านผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อทดน้ำ และมีระบบส่งน้ำ สำหรับพื้นที่สองฝั่งอำเภอเมือง อำเภอลับแล อำเภอตรอน และ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ กับอำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเมือง อำเภอวังทอง และ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก รวมพื้นที่ประมาณ 873,000 ไร่ โครงการระยะที่ 3 นี้ ยังไม่ได้ดำเนินการ แผนพัฒนาลุ่มน้ำน่านนี้ เป็นการวางแผนที่จะนำน้ำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างเต็มที่ จึงได้วางแผนให้เกี่ยวโยงกันทั่วลุ่มน้ำคือตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ กำหนดระบบวิธีจัดเก็บ และการใช้น้ำ ให้เกิดประโยชน์หลายๆอย่าง รวมทั้งได้กำหนดขั้นตอนของการพัฒนา ให้เหมาะสมกับสภาวะท้องที่เป็นระยะๆไป โดยท้องที่ส่วนใหญ่ของทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน มักถูกน้ำท่วมเป็นประจำ การพัฒนา จึงต้องสร้างเขื่อนเก็บน้ำขึ้น ก่อนที่จะสร้างเขื่อนทดน้ำ และระบบส่งน้ำ เพราะหากก่อสร้างเขื่อนทดน้ำและระบบส่งน้ำก่อน น้ำที่ท่วมนอง นอกจากจะยังความเสียหายให้แก่การเพาะปลูกเช่นเดิมแล้ว ยังทำความเสียหายให้แก่งานก่อสร้างเขื่อนทดน้ำและระบบส่งน้ำ อีกด้วย ดังนั้นจึงได้มีการก่อสร้างเขื่อนสิริกติ์ซึ่งเป็นเขื่อนเก็บน้ำ ขึ้นก่อนเขื่อนอื่นๆ หลังจากได้รับความรู้กันไปแล้วเราก็ได้รับประทานอาหารเย็นริมเขื่อน(ขอบอกว่าบรรยากาศดีมากๆ หรือถ้าหากเดินทางมาเป็นหมู่คณะ สามารถติดต่อขอดนตรีจากน้องๆหหารได้ด้วย บอกได้เลยว่าไม่แพ้วงดนตรีของพลเรือนเลยทีเดียวเชียว ) เป็นอันว่าวันนี้ได้ทั้งสาระความรู้มากมาย สัมผัสธรรมชาติอันสวยงามบนผืนแผ่นดินไทยในอีกมุมที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน และปิดท้ายทานอาหารอร่อยๆไปพร้อมๆกับเสียงดนตรีเพราะๆจากพี่ๆทหาร .....เกินจะบรรยายจริงๆเลยครับ





จากนั้นแวะสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทศบาลตำบลเกาะคา จ.ลำปาง

สินค้าพื้นบ้าน เทศบาลตำบลเกาะคา จ.ลำปาง
ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น

หลังจากนั้นเราเดินทางสู่ที่พัก คืนนี้เราพักกันที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ต.แจ้ซ้อน อ. เมืองปาน จ. ลำปาง


อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองปาน อำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่มและอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิด และมีธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตก แอ่งน้ำอุ่น บ่อน้ำพุร้อน ซึ่งสามารถเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงว่าใต้พื้นโลกเรายังมีความร้อนระอุอยู่ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ประมาณ 768 ตารางกิโลเมตร หรือ 480,000 ไร่

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนได้รับรางวัล อุทยานแห่งชาติดีเด่นประจำปี 2543 ตามที่กรมป่าไม้ได้จัดงานวันสถาปนากรมป่าไม้ครบรอบ 104 ปี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2543 โดยได้จัดประกวดอุทยานแห่งชาติดีเด่นด้านการท่องเที่ยวประจำปี 2543

ในส่วนของสถานที่พักก็จะมีน้ำพุร้อนที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้เข้าไปสัมผัส อากาศหนาวๆ ป่าเขียว ไอดินจากน้ำพุร้อน สะกดให้ผมพาตัวเองลงไปแช่ในอ่างน้ำร้อน ท่ามกลางขุนเขา และป่าเขียว


หลังจากที่เราได้พักสัมผัสบรรยากาศของธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนแล้ว

เช้าวันที่ 2 ผมและคณะก็เดินทางสู่บ้านทุ่งจี้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่บ้าน ทุ่งจี้ ตำบล ทุ่งกว๋าว อำเภอ เมืองปาน จังหวัด ลำปาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในการแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่เพื่อให้ทุกส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ร่วมกันแก้ไขปัญหา การทำลายทรัพยากรป่าไม้ บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรม และให้มีหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการส่งเสริมอาชีพ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยดำเนินงานโครงการศิลปาชีพ เพื่อเป็นการสร้างองค์กรมวลชนในพื้นที่ให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้

ช่วงบ่ายแนะนำให้ไป สักการะอนุสาวรีย์ เจ้าพ่อประตูผา

ภายในมีกิจกรรมทางหทารให้เราได้สัมผัสเช่น กระโดดหอสูง 34 เมตร โชว์การจับงูการสังเกตุสัตว์มีพิษ การครองชีพในป่า
สาธิตการกระโดดร่ม และยังมีการแสดงของน้องๆ ทหารใหม่ให้ได้ชมกันด้วย



จากนั้นเราเดินทางสู่จังหวัดน่าน สามารถแวะนั่งรถราง ของทางเทศบาล จ.น่าน เพื่อชมเมืองได้ และแล้วเราก็เดินทางมาถึงที่พัก อ. ปัวกับบรรยากาศแบบชิวๆ ณ โรงแรมชมพูภูคา พร้อมรับประทานอาหารเย็น


ห้วยโก๋น
เดิมเคยเป็นฐานปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 3 ในบริเวณฐานปฏิบัติการยังคงรักษาสภาพเดิมไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา มีสนามเพลาะ แนวกับระเบิด คลังอาวุธ จุดที่ทหารไทยเสียชีวิตในบริเวณเดียวกับยุทธภูมิยังมี ฐานสู้รบเหล่าผู้กล้า ฐานทหารเก่าที่บ้านห้วยโก๋น ตำบลห้วยโก๋น เป็นสมรภูมิการสู้รบในอดีต เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2518 ผกค.ได้เข้าโจมตี ทำให้ทหารในสังกัดทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ฐานแห่งนี้ 69 นาย เสียชีวิต 17 นาย ฝ่าย ผกค. บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ฝ่ายทหารสามารถรักษาฐานปฏิบัติการแห่งนี้ไว้ได้ ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของลัทธิการปกครองที่แตกต่างกัน ภายในฐานยังมีบริการบ้านพักแก่นักท่องเที่ยว ติดต่อได้ที่กองพันทหารราบที่ 15 หรือ หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานจู่โจม ค่ายสุริยะพงษ์

เป็นทางที่ทหารใช้เดิน เพื่อป้องกันการซุ่มยิงของฝ่ายตรงข้ามที่จะเข้ามายึดพื้นที่ และท่านจะได้รับฟังการบรรยายจากเจ้าหน้าที่ทหารเพิ่มเติมอีกด้วย สถานที่แห่งนี้ทหารไทยสามารถปกป้องดินแดนไว้ได้แต่ก็ต้องสูญเสียเหล่าทหารผู้กล้าไปอีกไม่น้อย ในการสู้รบแต่ระครั้งหากทหารได้รับบาดเจ็บหรือโดนกระสุนของฝ่ายตรงข้ามโอกาสจะเสียชีวิตมีมากเพราะการรักษาพยาบาลหรือจะนำเฮลิคอปเตอร์ มารับเป็นไปได้อยากมาก เพราะฝ่ายตรงข้ามจะค่อยซุ่มยิงเฮลิคอปเตอร์อยู่ตลอดเวลา

จากนั้นเราเดินทางสู่จังหวัดน่าน สามารถแวะนั่งรถราง ของทางเทศบาล จ.น่าน เพื่อชมเมืองได้ และแล้วเราก็เดินทางมาถึงที่พัก อ. ปัวกับบรรยากาศแบบชิวๆ ณ โรงแรมชมพูภูคา พร้อมรับประทานอาหารเย็น

อนุสรณ์สถานยุทธภูมิบ้านห้วยโก๋นเก่า





เขื่อนสิริกิติ์

เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก่อสร้างขึ้น ตามโครงการพัฒนา ลุ่มน้ำน่าน เดิมชื่อ "เขื่อนผาซ่อม" ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขนานนามว่า "เขื่อนสิริกิติ์" เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2511 ก่อสร้างขึ้น ปิดกั้นแม่น้ำน่าน ณ บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 58 กิโลเมตร

แม่น้ำน่าน

นับเป็นลำน้ำสาขาสำคัญสายหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา มีต้นกำเนิดจากดอยภูแว ในเทือกเขา หลวงพระบาง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนกับประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตท้องที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน ลำน้ำน่านตอนต้นไหลไปทางทิศเหนือ คดเคี้ยวไปทางทิศตะวันตก แล้วไหลผ่านอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ในช่วงนี้จะมีที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ ติดต่อกันจนถึง อำเภอสา จังหวัดน่าน แต่ก็เป็นที่ราบแคบ ๆ จากนั้น แม่น้ำน่านจะไหลผ่านหุบเขา ในเขตพื้นที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เข้าเขตอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วไหล ไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัด อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำยม ที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลแควใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาต่อไปโดยมีความยาวตลอดลำน้ำถึง 615 กิโลเมตร ซึ่งนับว่ายาวที่สุด ในบรรดาแควต้นน้ำเจ้าพระยาด้วยกัน และมีพื้นที่ลุ่มน้ำถึง 33,130 ตารางกิโลเมตรที่ราบสองฝั่ง แม่น้ำน่าน ตั้งแต่จังหวัดอุตรดิตถ์ลงมาจำนวน 1,800,000 ไร่ ในเขตชลประทานพิษณุโลก นับว่าเป็นทุ่งราบที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศ และเหมาะแก่การเกษตรกรรมอย่างยิ่ง ซึ่งแต่ก่อน มักถูกน้ำท่วม เป็นประจำเพราะไม่มีระบบควบคุมน้ำ รัฐบาลจึงได้มีการวางแผนพัฒนา ลุ่มน้ำน่านขึ้นมา 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ในอ่างสำหรับประโยชน์ ทางด้านการชลประทาน และการผลิตกระแสไฟฟ้า

ระยะที่ 2 ก่อสร้างเขื่อนนเรศวรขึ้นที่บ้านหาดใหญ่ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เป็นเขื่อนทดน้ำ พร้อมทั้งก่อสร้างระบบส่งน้ำสำหรับพื้นที่สองฝั่งในอำเภอพรหมพิราม อำเภอเมือง อำเภอบางระกำ และ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก กับอำเภอสามง่าม อำเภอเมือง และอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร รวมพื้นที่ประมาณ 678,000 ไร่ โครงการระยะที่ 2 นี้ ได้เริ่มงานก่อสร้างเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ.2512 แล้วเสร็จปี พ.ศ.2527

ระยะที่ 3 ก่อสร้างเขื่อนอุตรดิตถ์ที่บ้านผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อทดน้ำ และมีระบบส่งน้ำ สำหรับพื้นที่สองฝั่งอำเภอเมือง อำเภอลับแล อำเภอตรอน และ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ กับอำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเมือง อำเภอวังทอง และ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก รวมพื้นที่ประมาณ 873,000 ไร่ โครงการระยะที่ 3 นี้ ยังไม่ได้ดำเนินการ แผนพัฒนาลุ่มน้ำน่านนี้ เป็นการวางแผนที่จะนำน้ำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างเต็มที่ จึงได้วางแผนให้เกี่ยวโยงกันทั่วลุ่มน้ำคือตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ กำหนดระบบวิธีจัดเก็บ และการใช้น้ำ ให้เกิดประโยชน์หลายๆอย่าง รวมทั้งได้กำหนดขั้นตอนของการพัฒนา ให้เหมาะสมกับสภาวะท้องที่เป็นระยะๆไป โดยท้องที่ส่วนใหญ่ของทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน มักถูกน้ำท่วมเป็นประจำ การพัฒนา จึงต้องสร้างเขื่อนเก็บน้ำขึ้น ก่อนที่จะสร้างเขื่อนทดน้ำ และระบบส่งน้ำ เพราะหากก่อสร้างเขื่อนทดน้ำและระบบส่งน้ำก่อน น้ำที่ท่วมนอง นอกจากจะยังความเสียหายให้แก่การเพาะปลูกเช่นเดิมแล้ว ยังทำความเสียหายให้แก่งานก่อสร้างเขื่อนทดน้ำและระบบส่งน้ำ อีกด้วย ดังนั้นจึงได้มีการก่อสร้างเขื่อนสิริกติ์ซึ่งเป็นเขื่อนเก็บน้ำ ขึ้นก่อนเขื่อนอื่นๆ หลังจากได้รับความรู้กันไปแล้วเราก็ได้รับประทานอาหารเย็นริมเขื่อน(ขอบอกว่าบรรยากาศดีมากๆ หรือถ้าหากเดินทางมาเป็นหมู่คณะ สามารถติดต่อขอดนตรีจากน้องๆหหารได้ด้วย บอกได้เลยว่าไม่แพ้วงดนตรีของพลเรือนเลยทีเดียวเชียว ) เป็นอันว่าวันนี้ได้ทั้งสาระความรู้มากมาย สัมผัสธรรมชาติอันสวยงามบนผืนแผ่นดินไทยในอีกมุมที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน และปิดท้ายทานอาหารอร่อยๆไปพร้อมๆกับเสียงดนตรีเพราะๆจากพี่ๆทหาร .....เกินจะบรรยายจริงๆเลยครับ










เล่าโดย แมงปอสีฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น